..............................................

ลำพูน

ลำพูน

พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญไชย

ประวัติ

ลำพูน จังหวัดที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ เดิมมีชื่อว่านครหริภุญไชยสร้างเมื่อ พ..๑๒๐๐ โดยฤาษีวาสุเทพได้เกณฑ์พวกเมงคบุตรเชื้อสายมอญมาสร้างระหว่างแม่น้ำ ๒ สาย แม่น้ำปิงและแม่น้ำกวงเมื่อสร้างเสร็จได้เชิญพระธิดาพระมหากษัตริย์แห่งกรุงละโว้พระนามว่าจามเทวีมาปกครองเมือง มีกษัตริย์ครองเมืองสืบต่อมาหลายราชวงศ์ จนมาถึงสมัยกรุงธนบุรี เจ้ากาวิละได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้ากรุงธนบุรี ทำการขับไล่พม่าจนสำเร็จได้ไปครองเมืองเชียงใหม่ และให้เจ้าคำฝั้นน้องชายครองเมืองลำพูน ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ลำพูนมีฐานะเป็นเมืองขึ้น มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เป็นเจ้าผู้ครองนคร และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.. ๒๔๗๕ จึงได้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร

การเดินทาง

รถยนต์ ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ผ่านดอนเมือง รังสิต แยกซ้ายตรงกิโลเมตรที่ 32 ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท เข้าจังหวัดนครสวรรค์ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 11 เข้าจังหวัดลำพูน รวมระยะทาง 670 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8ชั่วโมง

รถไฟ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศบริการทุกวันจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีบริการรถปรับอากาศวีไอพีของบริษัท อินทราทัวร์ (ย่านประตูน้ำ) โทร. 02-208-0840,02-208-0580

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 โทร.02-936-2852-66 www.transport.co.th

สถานีขนส่งลำพูน โทร. 053-511-173

เครื่องบิน ไม่มีเครื่องบินบินตรงไปจังหวัดลำพูน ต้องบินไปเชียงใหม่ แล้วต่อรถมาลำพูน สอบถามรายละเอียดได้ที่

- การบินไทย โทร. 1566,02-628-2000,02-280-0060 www.thaiairways.com

- นก แอร์ โทร. 1318 www.nokair.co.th

- ไทย แอร์ เอเชีย โทร. 02-515-9999 www.airasia.com

- โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ โทร. 1126 ,02-267-2999 www.onetwo-go.com

รถประจำทางสายเชียงใหม่-ลำพูน ออกทุกวันตั้งแต่ ๐๕.๐๐-๒๐.๓๐ น. บริการรับส่งทุก 10 นาที จะออกจากสถานีขนส่งช้างเผือกปลายทางสถานีขนส่งหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย ใช้เวลาเดินทาง 45 นาที

สถานที่น่าสนใจ

อำเภอเมือง

อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ตำบลในเมือง บริเวณสวนสาธารณะหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑ กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวี องค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม ความสามารถและกล้าหาญ ได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้จนมีความรุ่งเรืองสืบมาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.. ๒๕๒๕

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ถนนอินทยงยศ เยื้องกับวัดพระธาตุหริภุญชัย ก่อตั้งเมื่อ พ.. ๒๔๗๐ โดยพระยาราชกุลวิบูลย์ภักดีสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารแห่งใหม่เสร็จเมื่อ พ.. ๒๕๑๗ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อ พ.. ๒๕๒๒ ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุแบ่งเป็น ๓ ห้องคือ ห้องจัดแสดงใหญ่ เป็นห้องโถงยาวอยู่ชั้นบนของตัวอาคารมีการจัดแสดงวัตถุออกเป็น ๓ สมัย คือสมัยก่อนหริภุญไชย สมัยหริภุญไชย และสมัยล้านนา ได้แก่ พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูป พระพิมพ์ และเทวดา เป็นต้น ห้องจัดแสดงศิลปพื้นบ้าน และเครื่องไม้จำหลัก เป็นห้องจัดแสดงเล็กที่อยู่อาคารเล็กชั้นเดียวมีโถงเชื่อมจากชั้นบนของอาคารหลังใหญ่ วัตถุที่แสดงเป็นศิลปะสมัยล้านนา รัตนโกสินทร์ แสดงออกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือตีเหล็ก เครื่องมือทอผ้า เครื่องดนตรีพื้นบ้าน พานดอกไม้เชี่ยนหมาก เป็นต้น ห้องศิลาจารึก เป็นห้องโถงเปิดโล่ง อยู่ชั้นล่างของตัวอาคาร จัดแสดงศิลาจารึก สมัยหริภุญไชย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และศิลาจารึกสมัยล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฎฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑๕๐ เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.. ๑๖๕๑ ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช ซุ้มประตู ก่อนเข้าไปในบริเวณวัด จะผ่านซุ้มประตูฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆ หน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ ๑ เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชเมื่อทรงถวายวังให้เป็นสังฆาราม

วิหารหลวง เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้ว จะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่าวิหารหลวงเป็นวิหารหลังใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน มีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.. ๒๔๕๘ วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนกิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาใหญ่ ๓ องค์ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองบนแท่นแก้วและมีพระพุทธปฏิมาโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้นและชั้นกลางอีกหลายองค์

พระบรมธาตุหริภุญชัย ตั้งอยู่หลังวิหารหลวง ประดิษฐานพระเกศธาตุบรรจุในโกศทองคำ เจดีย์ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับพระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ มีสัตถบัญชร (ระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วเหล็กและทองเหลือง) ๒ ชั้น สำเภาทองประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือและทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม หอคอยประจำทุกด้านรวม ๔ หอ บรรจุพระพุทธรูปนั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป พระบรมธาตุนี้นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งในล้านนามาตั้งแต่สมัยโบราณ ในวันเพ็ญเดือน ๖ จะมีงานนมัสการ และสรงน้ำพระบรมธาตุทุกปี ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อ พ.. ๑๔๔๐ พระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์วงศ์รามัญผู้ครองนครลำพูนได้สร้างมณฑปครอบโกศทองคำ บรรจุพระบรมธาตุไว้ภายในและมีการสร้างเสริมกันต่อมาอีกหลายสมัย ต่อมาใน พ.. ๑๙๘๖ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ปฏิสังขรณ์บูรณะเสริมองค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่เป็นแบบลังกา ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะในสมัยพระเจ้าติโลกราชได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับลังกา

พระสุวรรณเจดีย์ หรือ ปทุมวดีเจดีย์ ตั้งอยู่ทางขวาของพระบรมธาตุ สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๗ โดยพระนางปทุมวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอาทิตยราช ภายหลังจากสร้างพระบรมธาตุเสร็จได้ ๔ ปี พระสุวรรณเจดีย์องค์นี้เป็นทรงปรางค์ ๔ เหลี่ยม ฝีมือช่างละโว้ มีพระพุทธรูปประจำซุ้ม ฝีมือแบบขอมปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง ยอดพระเจดีย์มีทองเหลืองหุ้มอยู่ ภายใต้ฐานล่างเป็นกรุบรรจุพระเครื่อง

อนุสาวรีย์สุเทวฤาษี ตั้งอยู่ที่บริเวณดอยติ ริมถนนสายซุปเปอร์ไฮเวย์ตรงทางเข้าสู่เมืองลำพูน เดิมตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดลำพูน สุเทวฤาษีเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญไชย แต่เนื่องจากเป็นผู้บำเพ็ญสมาบัติ และไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลก จึงไปเชิญพระนางจามเทวีซึ่งเป็นพระธิดาของพระยาจักวัติแห่งเมืองละโว้มาปกครองเมืองหริภุญไชยแทน และยังได้ช่วยเหลือพระนางจามเทวีประดิษฐานพระบวรพุทธศาสนาในนครหริภุญไชยอย่างมั่นคง

วัดมหาวัน ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๕๐๐ เมตร เลียบไปตามคูเมืองเก่า ตำนานการสร้างวัดกล่าวว่า วัดนี้สร้างมาแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองนครหริภุญไชย สิ่งที่น่าชมคือ พระพุทธสิกขิ หรือพระศิลาดำ ซึ่งพระนางจามเทวีอัญเชิญมาจากเมืองละโว้ ชาวเมืองเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระรอดหลวง หรือพระรอดลำพูน ซึ่งมีความสำคัญและเป็นแบบพิมพ์ในการจำลองทำพระเครื่องที่ลือชื่อคือ พระรอดมหาวัน

วัดจามเทวี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดกู่กุด ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ตำบลในเมือง สร้างเมื่อประมาณ พ.. ๑๒๙๘ ฝีมือช่างละโว้ ลักษณะพระเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย แต่ละด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่เป็นชั้นๆ ภายในเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย ตามตำนานเล่าว่าเจ้าอนันตยศและเจ้ามหันตยศ ราชโอรสของพระนางจามเทวีได้สร้างขึ้น เพื่อบรรจุอัฐิของพระนางเมื่อปี พ.. ๑๒๙๘ เดิมมียอดห่อหุ้มด้วยทองคำ ต่อมาจะเป็นสมัยใดไม่ทราบชัด ยอดพระเจดีย์หักหายไปชาวบ้านจึงเรียกว่ากู่กุดหรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าพระเจดีย์สุวรรณจังโกฏ

กู่ช้าง-กู่ม้า เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่บริเวณชุมชนวัดไก่แก้ว ซอยโรงเรียนจักรคำคณาทร ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑ กิโลเมตร กู่ช้าง เป็นสถูปทรงกระบอกปลายมน เชื่อว่าเป็นสุสานช้างศึกคู่บารมีของพระนางจามเทวี ชื่อภูก่ำงาเขียวหมายถึง ช้างผิวสีคล้ำ งาสีเขียวที่ทรงอานุภาพและอิทธิฤทธิ์ในสงคราม ส่วน กู่ม้า เป็นสถูปทรงระฆัง เชื่อว่าเป็นสุสานม้าทรงของพระโอรสพระนางจามเทวี

อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ตั้งอยู่เชิงดอยติ บริเวณวัดดอยติ ตำบลป่าสัก ห่างจากตัวเมืองลำพูนประมาณ ๕ กิโลเมตร ตามถนนสายเชียงใหม่-ลำปาง พระครูบาศรีวิชัยเป็นพระเถรเจ้า นักพัฒนาแห่งล้านนาไทย ผู้พัฒนาทั้งด้านจิตใจและด้านถาวรวัตถุให้แก่ชาวล้านนาไว้อย่างอเนกอนันต์ ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วงปี พ.. ๒๔๒๑-๒๔๘๑ ถิ่นฐานบ้านเดิมของท่านอยู่ที่บ้านแม่ตื่น อำเภอลี้ จึงเป็นความภูมิใจอย่างใหญ่หลวงของชาวลำพูน ที่เมืองนี้เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของนักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ดอยขะม้อ ตำบลมะเขือแจ้ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๑ เลี้ยวเข้าทางหลวงสาย ๑๑๔๗ ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ตั้งอยู่หลังนิคมอุตสาหกรรมลำพูน เป็นภูเขาไฟโบราณ รูปทรงสัณฐานคล้ายฝาชี บนยอดมีปล่องกว้าง ๓ เมตร ลึกประมาณ ๖ เมตร ตอนล่างเป็นบ่อมีน้ำตลอดปี การเดินขึ้นไปบ่อน้ำบนยอดเขาต้องขึ้นบันได ๑,๗๔๙ ขั้น ประชาชนนับถือกันมาแต่โบราณว่า เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ห้ามผู้หญิงตัก เมื่อถึงเทศกาลสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยจะต้องตักน้ำจากบ่อนี้ไปปนกับน้ำพระราชทาน แล้วจึงนำขึ้นสรงองค์พระธาตุและเมื่อพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ จะต้องนำน้ำในบ่อนี้อัญเชิญไปร่วมเป็นน้ำพุทธาภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกครั้ง

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน อำเภอห้างฉัตรและอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นที่เป็นป่าเขา อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ ๑๕๙,๕๕๖ ไร่ การเดินทาง ทางรถไฟ: ลงที่สถานีขุนตาล แล้วเดินเท้าอีกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ ทางรถยนต์: ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๑ สายลำปาง-ลำพูน กิโลเมตรที่ ๔๗ เข้าไปประมาณ ๑๘ กิโลเมตร

สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ

อุโมงค์ขุนตาล เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว ๑,๓๕๒ เมตร สร้างขึ้นโดยชาวเยอรมันชื่อเอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ แต่ยังไม่แล้วเสร็จเพราะในระหว่างการสร้างอุโมงค์เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทำให้นายเอมิลเดินทางกลับประเทศ ต่อมาปี พ.. ๒๔๖๐ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระบิดาแห่งการรถไฟ เสด็จมาเป็นแม่งานก่อสร้างจนเสร็จในปี พ.. ๒๔๖๑

บริเวณยอดเขา จากที่ทำการอุทยานฯ ซึ่งมีที่พักของกรมป่าไม้ตั้งอยู่ เดินเท้าต่อไปประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร จะถึง ย. ๑ หรือจุดยุทธศาสตร์ ๑ เป็นที่ตั้งของบ้านพักรับรองของการรถไฟแห่งประเทศไทย จากนั้นเดินเท้าต่อไปอีก ๘๐๐ เมตร จะถึง . ๒ บริเวณนี้มีต้นสนเขาขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีบ้านพักรับรองของ ม... คึกฤทธิ์ ปราโมช ภายในบริเวณปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาวและจัดตกแต่งสถานที่อย่างสวยงาม หากเดินต่อไปอีกประมาณ ๓,๖๐๐ เมตร จะถึง ย. เป็นที่ตั้งของบ้านพักมิชชันนารี จุดสูงสุดของเทือกเขาดอยขุนตาลมีชื่อเรียกว่าม่อนส่องกล้องหรือ ย. ๔ ระยะทางเดินจาก ย. ๓ ประมาณ ๑ กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีบ้านพักและเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว

อำเภอป่าซาง

วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตั้งอยู่ตำบลมะกอก เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ ช่วงกิโลเมตรที่ ๑๓๖๑๓๗ เข้าไปประมาณ ๑ กิโลเมตร จะเห็นบันไดทางขึ้นวัดอย่างชัดเจน วัดนี้เป็นปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดลำพูน ตามตำนานการสร้างวัดเล่าว่าพระพุทธองค์พร้อมด้วยสาวกได้เสด็จจาริกสั่งสอนไปตามที่ต่าง ๆ จนถึงที่แห่งนี้ได้รับสั่งให้นำจีวรที่ซักระหว่างทางออกมาตากกับหน้าผาหิน ซึ่งปัจจุบันก็ยังปรากฏเป็นรอยตารางคล้ายจีวรของพระอยู่จนทุกวันนี้ จากนั้นจึงทรงอธิษฐานเหยียบพระบาทประดิษฐานรอยไว้บนลานผาลาดซึ่งเป็นที่ตั้งวัดในปัจจุบัน และบนม่อนดอยเบื้องหลังวัดได้มีการสร้างพระเจดีย์ ซึ่งเป็นศิลปะที่ผสมผสานจากพระธาตุดอยสุเทพและพระธาตุหริภุญชัย โดยมีบันไดนาค ๔๖๙ ขั้น เชื่อมระหว่างเจดีย์บนม่อนดอยกับวัดพระพุทธบาทตากผ้าที่เชิงดอย ปัจจุบันสามารถนำรถขึ้นไปได้ เมื่อถึงวันอัฐมีบูชา แรม ๘ ค่ำ เดือนแปด ซึ่งเป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่วัดมีประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี

ถ้ำเอราวัณ หมู่ที่ ๖ ตำบลนครเจดีย์ บริเวณที่ทำการย่อยสำนักงานหน่วยอนุรักษ์ป่าไม้แม่อาว เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ ช่วงกิโลเมตรที่ ๑๒๔ มีป้ายบอกทางเลี้ยวเข้าถนนลาดยาง ๔ กิโลเมตร และลูกรังอีก ๗ กิโลเมตร จะถึงที่ทำการย่อยของสำนักงานหน่วยอนุรักษ์ป่าไม้แม่อาว ลักษณะปากถ้ำมีขนาดเล็กลาดต่ำจนถึงปากคูหาถ้ำ เมื่อผ่านปากถ้ำเข้าไปจะพบห้องโล่งกว้างแสงแดดเข้าไม่ถึงบางแห่งของห้องโถงใหญ่แบ่งเป็นห้องเล็ก ๆ กระจายอยู่ซึ่งแต่ละห้องมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม การเดินทางเข้าไปในถ้ำควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง และควรนำไฟฉายติดตัวไปด้วยเพราะภายในถ้ำไม่มีไฟฟ้า

เทศกาลงานประเพณี

งานของดีศรีหริภุญชัย กำหนดจัดงานเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เป็นงานแสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และเกษตรแปรรูปนานาชนิด ซึ่งเกษตรกรและกลุ่มแม่บ้านของจังหวัดลำพูนเป็นผู้ผลิต ในงานมีขบวนแห่ของกลุ่มแม่บ้าน การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม การประกวดเรือนชนบท การออกร้านขายสินค้าหัตถกรรมในราคาย่อมเยา

งานประเพณีสงกรานต์ จัดระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายนของทุกปี บริเวณเชิงสะพานท่าขามและเขตเทศบาลเมืองลำพูน มีการตักบาตร สรงน้ำพระ และแห่พระรอดหลวง

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนหกของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานน้ำสรงและเครื่องสักการะมาเพื่อประกอบพิธี รวมทั้งจังหวัดยังได้อัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากดอยขะม้อเข้าร่วมสรงด้วย นอกจากชาวลำพูนแล้วยังมีประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าชมงานนี้จำนวนมาก

งานเทศกาลลำไย เป็นงานใหญ่ประจำปีของชาวจังหวัดลำพูน จัดช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี บริเวณสนามกีฬาจังหวัด ภายในงานมีขบวนรถที่ประดับตกแต่งด้วยลำไยอย่างสวยงาม การประกวดธิดาลำไย และการออกร้านค้า ประกวดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง

งานมหกรรมผ้าฝ้ายผ้านวมป่าซาง อำเภอป่าซางมีชื่อเสียงทางด้านการทอผ้าฝ้ายเนื้อดีและผ้านวม มีการประดิษฐ์ผ้านวมผืนใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่อำเภอป่าซาง งานนี้ผู้มาเยี่ยมชมสามารถเลือกซื้อผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้าได้จากผู้ผลิตโดยตรง

งานเจ้าแม่จามเทวี เป็นงานที่จัดขึ้นหลังการเก็บเกี่ยวพืชผล ในงานมีการประกวดนางสาวลำพูนและธิดาชาวยองจัดในเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม บริเวณสนามกีฬาจังหวัดลำพูน

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

ลำพูน เป็นแหล่งผลิตลำไยมากที่สุดในประเทศ ส่วนสินค้าประเภทของใช้มีผ้าทอ ผ้าฝ้าย ผ้ายกดอกลำพูน เครื่องจักสาน เครื่องไม้แกะสลัก ผ้าทอชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และเครื่องเงิน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อได้ ดังนี้

อำเภอเมือง

กลุ่มตัดเย็บผ้าฝ้าย ม.๒ บ้านล้องเดื่อ ต.ประตูป่า โทร. ๐ ๕๓๕๐ ๐๖๗๗
กลุ่มทอผ้าบ้านแม่สารป่าแดด ยวงแก้ว ปรีชานุกูล ๔/๒ ม.๒ ต.เวียงยอง โทร. ๐ ๕๓๕๓ ๗๔๓๒, ๐ ๙๖๓๔ ๒๒๕๖
กลุ่มสตรีทอผ้าศรีเมืองยู้ ม. ๖ ต.เวียงยอง

บริษัท วี พี เอ็น คอลเลคชั่น จำกัด ๑๙๐/๑ ถ.ลำพูน-ริมปิง ต.ในเมือง โทร. ๐ ๕๓๕๑ ๑๔๑๙, ๐ ๕๓๕๘ ๑๕๒๐ จำหน่ายสินค้าประเภทดอกไม้ประดิษฐ์ด้วยกระดาษสา

ผลิตภัณฑ์ชาวเขาจังหวัดลำพูน ๒๐๔/๑ ม.๑ ต.ต้นธง โทร. ๐ ๕๓๕๓ ๕๑๗๑

เพ็ญศิริไหมไทย ๑๒๓ ม.๒ ถ.ลำพูน-ดอยติ แม่สารป่าแดด ต.เวียงยอง โทร. ๐ ๕๓๕๓ ๗๕๑๒-๓, ๐ ๕๓๕๑ ๐๕๒๔ จำหน่ายผ้าไหมยกดอก

ลำพูนผ้าไหมไทย /๒ ถ.จิตตวงศ์พันธ์รังสรร เยื้องวัดช่างฆ้อง โทร. ๐ ๕๓๕๑ ๐๓๒๙

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา โทร. ๐ ๕๓๕๑ ๑๕๙๙, ๐ ๕๓๕๓ ๗๗๐๗

อำเภอป่าซาง

กัลยาผ้าฝ้ายทอมือ กลุ่มทอผ้าบ้านร่องช้าง ต.ท่าตุ้ม โทร. ๐ ๑๙๖๐ ๕๓๘๘ จำหน่ายผ้าฝ้ายทอมือ

นันทนีย์บาติก ๒๔๕ ม.๑ ถ.ลำพูน-ลี้ ต.ป่าซาง โทร. ๐ ๕๓๕๒ ๑๐๓๔ จำหน่าย

สินค้าผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก

ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายบ้านหนองเงือก ๑๕ ม.๕ ต.แม่แรง ถ.ลำพูน-ป่าซาง ประมาณ ๑๑ กิโลเมตร โทร. ๐ ๕๓๕๕ ๗๕๐๓, ๐ ๕๓๕๕ ๖๐๕๙ จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง

อุดมศิริผ้าฝ้าย ๕๑/ บ้านหนองเงือก ต.แม่แรง โทร. ๐ ๕๓๕๒ ๑๙๖๖ ,

๐ ๕๓๕๕ ๖๒๔๒ โทรสาร ๐ ๕๓๕๕ ๖๒๔๒ จำหน่ายผ้าฝ้ายทอมือและผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือ

อำเภอแม่ทา

กลุ่มทอผ้าแม่ขนาด ๙๙ ม.๘ แม่ขนาด ต.ทากาศ โทร. ๐ ๖๑๘๖ ๘๙๖๔

สงัด พรเพ็ญ แกะสลัก ๑๖๘ หมู่ ๔ บ้านหนองยางไคล ต.ทาทุ่งหลวง โทร.

๐ ๕๓๕๗ ๔๖๖๔, ๐ ๕๓๕๗ ๔๗๕๙

อำเภอทุ่งหัวช้าง

มาลี ลำพูนผ้าฝ้ายและผ้าไหมยกดอก ๙๒ ม.๙ ต.บ้านปาง โทร. ๐ ๕๓๕๙ ๖๐๓๘, ๐ ๕๓๕๙ ๐๑๙๙

กิจกรรมที่น่าสนใจ

สนามเชียงใหม่-ลำพูน กอล์ฟคลับ หมู่ที่ ๔ บ้านห้วยไซเหนือ ตำบลห้วยหยาบ เป็นสนามกอล์ฟมาตรฐาน ๑๘ หลุม เนื้อที่ประมาณ ๘๐๐ ไร่ ประกอบด้วย สนามไดรฟ์กอล์ฟ คลับเฮาส์ คอนโดมิเนียมสำหรับบริการนักท่องเที่ยว

ร้านอาหาร

อำเภอเมือง

โกเหลียงหมูกะทะ 121 ม. 2 ถ.เชียงใหม่-ลำพูน (ข้างวัดเหมืองง่า) ต.เหมืองง่า โทร. 561-443จำหน่ายอาหารประเภท หมูกะทะ หมูหมัก เนื้อหมัก ไก่หมัก สามชั้น ปลาหมึกสด แมงกะพรุน ลูกชิ้น

ครัวพญายอง ถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์-ลำปาง โทร. 549-079

เจ้าคุณ ถ.สันเหมืองใต้ ตำบลในเมือง

ดาวคะนอง 340 ถ.เจริญราษฎร์ ต.ในเมือง โทร. 511-552

บ้านสวน 86/1 ถ.เจริญราษฎร์ ต.ในเมือง โทร. 511-453

ไมตรี ฟิชชิ่ง พาร์ค ถ.สายอ้อมเมือง ลำพูน-ป่าซาง ต.ป่าสัก

ลำพูน ไอซ์ 6 ม.1 ถ.ไชยมงคล ต.ในเมือง โทร. 511-452

วี พี ไอซ์ 143 ถ.เจริญราษฎร์ ต.ในเมือง โทร. 561-550

สงขลาอาหารใต้ 47 ถ.สันเหมืองใต้ ต.ในเมือง

บ้านเมืองบุญ 234/5ม.6 ถ.ลำพูน-สันป่าตอง ต.ริมปิง โทร. 510-483

อำเภอป่าซาง

ก๋วยเตี๋ยวเป็ดสบทา หลังป้อมตำรวจสบทา ถ.ลำพูน-ป่าซาง ต.ป่าซาง

ฝ้ายคำ 28 ถ.ป่าซาง-ลี้ ตำบลมะกอก

สวนใหม่ 98 หมู่ 5 ต.ม่วงน้อย โทร. 521-685

อำเภอบ้านโฮ่ง

บ้านนัดทิพย์ ต.บ้านโฮ่ง โทร. 591-045

ลาบไก่บ้านโฮ่ง ต.บ้านโฮ่ง ถ.ลำพูน-ลี้ (บ้านห้วยห้า) โทร. 550-517

สวนอาหารจาวเหนือ 187/6 ม.6 ต.บ้านโฮ่ง โทร. 591-049

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ รหัสทางไกล ( 053 )

ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 511-555

สำนักงานจังหวัดลำพูน โทร. 511-000

ศาลากลางจังหวัด โทร. 511-000 , 511-017

โรงพยาบาลลำพูน โทร. 511-233

สถานีตำรวจภูธร โทร. 511-041 , 511-045

ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โทร. 511-041 , 511-800

ตำรวจทางหลวง โทร. 1193

ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

กรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 1182

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจังหวัด โทร. 560-906

ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดก่อนล่วงหน้า

ใช้บริการบริษัทนำเที่ยวที่มีใบอนุญาต

ท่านจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

ช่วยใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเคารพวิถีไทย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทัวร์แพ็คเก็จภาคเหนือ ( Package Tours Northern )

เชียงใหม่-เชียงราย-ลำพูน-ลำปาง-ปาย-แม่ฮ่องสอน

มหัศจรรย์ ปาย-แม่ฮ่องสอน 3 วัน 2 คืน

ทัวร์อิ่มบุญ 3 วัน 2 คืน

สุขกาย สบายใจ เชียงใหม่-เชียงราย 3 วัน 2 คืน

ทัวร์เชียงใหม่สุขสันต์ 3 วัน 2 คืน

ทัวร์หฤหรรษ์เชียงใหม่ เชียงราย 3 วัน 2 คืน

ทัวร์ครบรส เชียงใหม่ เชียงราย 4 วัน 3 คืน

ทัวร์ช้าง - ยอดดอยเชียงใหม่ 3 วัน 2 คืน

ทัวร์หรรษา เชียงใหม่-เชียงราย 3 วัน 2 คืน

Executive - VIP Tours

Executive - VIP Tour Packages

ทัวร์ 1 วัน เช้า-เย็น เขียงใหม่-เชียงราย

เชียงใหม่ซาฟารีทัวร์ 1 วัน

มหัศจรรย์ถ้ำเชียงดาว ชนสามเผ่าคอยาว

สามเหลี่ยมทองคำเชียงราย

ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุผผาชาติล้วนงามตา งามล้ำค่านครพิงค์

สูงสุดในสยาม ดอยอินทนนท์ 1วัน

เดินป่า ขี่ช้างล่องแพ 1 วัน

ทัวร์ธรรมชาติศึกษา เดินป่า ขี่ช้าง ล่องแพ

ทัวร์ เดินป่า ขี่ช้าง ล่องแพ 1 วัน

ทัวร์ เดินป่า ขี่ช้าง ล่องแพ 2 วัน 1 คืน

ทัวร์ เดินป่า ขี่ช้างล่องแพ 3 วัน 2 คืน

0 comments: